วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2


การเก็บรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้

การเก็บรักษาเสื้อผ้า

เสื้อผ้าที่ใส่แล้วก่อนนำไปซักควรปฏิบัติ  ดังนี้
๑.    ผึ่งให้เหงื่อแห้งก่อนนำไปใส่ตะกร้า
๒.  ซ่อมแซมตรงที่ชำรุด
๓.  แยกถุงเท้าและชุดชั้นใน
๔.  แยกผ้าสีและผ้าขาว

    วิธีซักเสื้อผ้า
๑.  แช่ผ้าในน้ำสะอาด  ๑๐  นาที  และขยี้เอาสิ่งสกปรกออก
๒.  แช่ผ้าในน้ำผงซักฟอก  ๑๕  นาที 
๓.  ขยี้ผ้าตรงส่วนที่สกปรกมากจนสะอาด  และขยี้ตรงส่วนอื่นๆ
๔.  นำผ้ามาซักในน้ำสะอาด  ๒-๓  ครั้ง  จนหมดฟอง  นำไปตาก  โดยใช้ที่หนีบผ้าหนีบไว้   เพื่อป้องกันผ้าตก
    เมื่อผ้าแห้งดีแล้วจึงเก็บมาพับแยกประเภท  แล้วจัดเก็บเข้าตู้
ถุงเท้า  พับไว้เป็นคู่ๆ  แล้วจัดเบในลิ้นชัก
ชุดชั้นใน  พับแยกประเภท  แล้วจัดเก็บในลิ้นชัก
เสื้อผ้าที่ต้องรีด  ให้รีดแล้วแขวนเรียงไว้ในตู้

    การเก็บรักษารองเท้า
รองเท้าผ้าใบ
๑.  ถอดเชือกผูกรองเท้า  แล้วเคาะฝุ่นออก
๒.  แช่ในน้ำผงชักฟอง  ๑๐  นาที  ใช้แปรงขัดให้สะอาด  แล้วซักในน้ำสะอาด    ครั้ง
๓.  นำไปตากให้แห้ง  ร้อยเชือกผูกรองเท้า  แล้วนำไปจัดเก็บเข้าที่
รองเท้าหนัง
๑.  เคาะฝุ่นออก  แล้วใช้ผ้าชุปน้ำเช็ดรอยเปื้อน
๒.  ทายาขัดรองเท้าให้ทั่ว  ใช้แปรงขัดให้ขึ้นเงา  แล้วนำไปจัดเก็บเข้าที่
รองเท้าแตะ
๑.  เคาะฝุ่นออก  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
๒.  แช่ในน้ำผงซักฟอก  ใช้แปรงขัดให้สะอาด  ล้างน้ำ  ตากให้แห้ง  แล้วจัดเก็บเข้าที่
    การจัดและเก็บที่นอน
    ห้องนอน  เป็นห้องที่ใช้พักผ่อนนอนหลับ  หลังจากตื่นนอนทุกครั้งเราจึงควรจัดเก็บที่นอนให้เรียบร้อย
วิธีเก็บที่นอน
๑.  ดึงผ้าปูที่นอนให้ตึง  ปัดฝุ่นออก
๒.  จัดวางหมอนบนหัวเตียง  และพับผ้าห่มวางไว้ปลายเตียง  จากนั้นปูผ้าคลุมเตียงป้องกันฝุ่น

    การต้มน้ำร้อน
    การต้มน้ำ  เป็นการทำน้ำให้สะอาดด้วยวิธีง่ายๆ  แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังเพราะถ้าพลาดพลั้งไปอาจเกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกได้
วิธีต้มน้ำร้อน
๑.  ใส่น้ำในกาให้พอดี  แล้วตั้งกาบนเตาไฟ  หันพวยกาไปด้านที่ไม่มีคนอยู่
๒.  เมื่อน้ำเดือดให้สวมถุงมือกันร้อนก่อน  แล้วจึงยกกาลงจากเตา

    การทำความสะอาดเครื่องใช้
    เครื่องใช้ภายในบ้าน  เช่น  แก้วน้ำ  จานชาม  เมื่อใช้งานแล้ว  ควรล้างทำความสะอาดก่อนนำไปจัดเก็บให้เรียบร้อย   เพื่อการสะดวกในการนำไปใช้งานในครั้งต่อไป

วิธีล้างแก้ว
๑.  เทน้ำออกจากแก้ว  ผสมน้ำยาล้างจาน
๒.  ใช้ฟองน้ำถูให้ทั่ว  โดยเฉพาะรอบปากแก้ว
๓.  ล้างแก้วในน้ำสะอาดจนหมดกลิ่นคาว
๔.  คว่ำแก้วในตะกร้า  ทิ้งไว้ให้แห้ง  แล้วจัดเก็บเข้าตูให้เรียบร้อย

วิธีล้างจาน
๑.  กวาดเศษอาหารลงในถังขยะ
๒.  ล้างน้ำสะอาด    ครั้ง  ผสมน้ำยาล้างจาน
๓.  ใช้ฟองน้ำถูจานชามให้สะอาด
๔.  ล้างด้วยน้ำสะอาดจนหมดคราบ  คว่ำในตะกร้า  ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจัดเก็บเข้าตู้


การเก็บรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้

การเก็บรักษาเสื้อผ้า

เสื้อผ้าที่ใส่แล้วก่อนนำไปซักควรปฏิบัติ  ดังนี้
๑.    ผึ่งให้เหงื่อแห้งก่อนนำไปใส่ตะกร้า
๒.  ซ่อมแซมตรงที่ชำรุด
๓.  แยกถุงเท้าและชุดชั้นใน
๔.  แยกผ้าสีและผ้าขาว

    วิธีซักเสื้อผ้า
๑.  แช่ผ้าในน้ำสะอาด  ๑๐  นาที  และขยี้เอาสิ่งสกปรกออก
๒.  แช่ผ้าในน้ำผงซักฟอก  ๑๕  นาที 
๓.  ขยี้ผ้าตรงส่วนที่สกปรกมากจนสะอาด  และขยี้ตรงส่วนอื่นๆ
๔.  นำผ้ามาซักในน้ำสะอาด  ๒-๓  ครั้ง  จนหมดฟอง  นำไปตาก  โดยใช้ที่หนีบผ้าหนีบไว้   เพื่อป้องกันผ้าตก
    เมื่อผ้าแห้งดีแล้วจึงเก็บมาพับแยกประเภท  แล้วจัดเก็บเข้าตู้
ถุงเท้า  พับไว้เป็นคู่ๆ  แล้วจัดเบในลิ้นชัก
ชุดชั้นใน  พับแยกประเภท  แล้วจัดเก็บในลิ้นชัก
เสื้อผ้าที่ต้องรีด  ให้รีดแล้วแขวนเรียงไว้ในตู้

    การเก็บรักษารองเท้า
รองเท้าผ้าใบ
๑.  ถอดเชือกผูกรองเท้า  แล้วเคาะฝุ่นออก
๒.  แช่ในน้ำผงชักฟอง  ๑๐  นาที  ใช้แปรงขัดให้สะอาด  แล้วซักในน้ำสะอาด    ครั้ง
๓.  นำไปตากให้แห้ง  ร้อยเชือกผูกรองเท้า  แล้วนำไปจัดเก็บเข้าที่
รองเท้าหนัง
๑.  เคาะฝุ่นออก  แล้วใช้ผ้าชุปน้ำเช็ดรอยเปื้อน
๒.  ทายาขัดรองเท้าให้ทั่ว  ใช้แปรงขัดให้ขึ้นเงา  แล้วนำไปจัดเก็บเข้าที่
รองเท้าแตะ
๑.  เคาะฝุ่นออก  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
๒.  แช่ในน้ำผงซักฟอก  ใช้แปรงขัดให้สะอาด  ล้างน้ำ  ตากให้แห้ง  แล้วจัดเก็บเข้าที่

    การจัดและเก็บที่นอน
    ห้องนอน  เป็นห้องที่ใช้พักผ่อนนอนหลับ  หลังจากตื่นนอนทุกครั้งเราจึงควรจัดเก็บที่นอนให้เรียบร้อย
วิธีเก็บที่นอน
๑.  ดึงผ้าปูที่นอนให้ตึง  ปัดฝุ่นออก
๒.  จัดวางหมอนบนหัวเตียง  และพับผ้าห่มวางไว้ปลายเตียง  จากนั้นปูผ้าคลุมเตียงป้องกันฝุ่น

    การต้มน้ำร้อน
    การต้มน้ำ  เป็นการทำน้ำให้สะอาดด้วยวิธีง่ายๆ  แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังเพราะถ้าพลาดพลั้งไปอาจเกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกได้
วิธีต้มน้ำร้อน
๑.  ใส่น้ำในกาให้พอดี  แล้วตั้งกาบนเตาไฟ  หันพวยกาไปด้านที่ไม่มีคนอยู่
๒.  เมื่อน้ำเดือดให้สวมถุงมือกันร้อนก่อน  แล้วจึงยกกาลงจากเตา

    การทำความสะอาดเครื่องใช้
    เครื่องใช้ภายในบ้าน  เช่น  แก้วน้ำ  จานชาม  เมื่อใช้งานแล้ว  ควรล้างทำความสะอาดก่อนนำไปจัดเก็บให้เรียบร้อย   เพื่อการสะดวกในการนำไปใช้งานในครั้งต่อไป

วิธีล้างแก้ว
๑.  เทน้ำออกจากแก้ว  ผสมน้ำยาล้างจาน
๒.  ใช้ฟองน้ำถูให้ทั่ว  โดยเฉพาะรอบปากแก้ว
๓.  ล้างแก้วในน้ำสะอาดจนหมดกลิ่นคาว
๔.  คว่ำแก้วในตะกร้า  ทิ้งไว้ให้แห้ง  แล้วจัดเก็บเข้าตูให้เรียบร้อย

วิธีล้างจาน
๑.  กวาดเศษอาหารลงในถังขยะ
๒.  ล้างน้ำสะอาด    ครั้ง  ผสมน้ำยาล้างจาน
๓.  ใช้ฟองน้ำถูจานชามให้สะอาด
๔.  ล้างด้วยน้ำสะอาดจนหมดคราบ  คว่ำในตะกร้า  ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจัดเก็บเข้าตู้

รู้จักงานช่างและงานประดิษฐ์

     1.  ความหมายและความสำคัญของงานช่างและงานประดิษฐ์
          
งานช่าง  หมายถึง  การนำวัสดุ  เศษวัสดุ  หรือสิ่งของต่าง ๆ มาดัดแปลงซ่อมแซมหรือสร้างขึ้นมาใหม่  เพื่อทำให้เกิดประโยชน์  และสามารถใช้สิ่งของเหล่านั้นได้ยาวนานขึ้น
          งานประดิษฐ์  หมายถึง  การนำเศษวัสดุหรือวัสดุต่าง ๆ มาดัดแปลงและประกอบกันให้เกิดประโยชน์เป็นของเล่น  ของใช้  หรือของประดับตกแต่ง
          ความสำคัญของงานช่างและงานประดิษฐ์  ดังนี้
          1.  นำวัสดุที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์  ไม่นำไปทิ้ง  เช่น  ขวดพลาสติก  กล่องกระดาษ  เศษไม้  หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้งานไม่ได้แล้ว  เราสามารถนำมาประดิษฐ์  ดัดแปลงเป็นของเล่น  ของใช้  หรือของประดับตกแต่งได้  ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดทรัพยากรทางหนึ่ง
          2.  ช่วยให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เกิดจินตนาการ  สามารถคิดดัดแปลงสิ่งของเป็นรูปทรงต่าง ๆ หรือประดิษฐ์สิ่งของชิ้นเดียวแต่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง  เป็นต้น
          3.  ทำให้มีของเล่น  ของใช้  และของประดับโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ
          4.  รู้จักเวลาว่างให้เกิดประโยชน์
          5.  เป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้

     2.  วัสดุและเศษวัสดุที่ใช้ในงานช่าง  และงานประดิษฐ์
          
ทุกวันนี้รอบตัวเรามีวัสดุและเศษวัสดุมากมาย  ถ้าเรานำวัสดุและเศษวัสดุเหล่านี้มาประดิษฐ์เป็นของเล่น  ของใช้  หรือของประดับตำแต่งก็จะเป็นประโยชน์มาก
          วัสดุ  หมายถึง  วัตถุต่าง ๆ ที่มีอายุการใช้งานระยะเวลาสั้น ๆ เช่น  ขวดพลาสติก  ถ้วยกระดาษ  กระป๋องนม  กล่องกระดาษ  เป็นต้น
          เศษวัสดุ  หมายถึง  สิ่งของต่าง ๆ ที่เหลือใช้  เช่น  เศษกระดาษ  เศษผ้า  เศษไม้  เป็นต้น
          ในการนำวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของนั้น  เราควรเก็บและแยกประเภทของวัสดุต่าง ๆ ไว้ก่อน  เพื่อจะได้สะดวกต่อการนำมาใช้ประโยชน์
          วัสดุแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้  ดังนี้
          2.1  ประเภทกระดาษ
                 วัสดุที่เป็นกระดาษ  เช่นปฏิทิน  กล่องกระดาษ  หนังสือพิมพ์  แก้วกระดาษ  แกนกระดาษชำระ  สมุดการบ้านเก่า ๆ กระดาษห่อของขวัญที่ใช้แล้ว  เป็นต้น
                 วิธีเก็บ
                 1.  กล่องกระดาษให้คลี่ออกแล้วพับให้แบน  แล้วเก็บซ้อนกัน
                 2.  แก้วกระดาษ  ต้องล้างให้สะอาดและผึ่งแดดให้แห้ง  แล้วเก็บวางซ้อนกัน
                 3.  หนังสือพิมพ์  นิตยสาร  หรือสมุดเก่า ๆ ให้ซ้อนกันไว้เป็นตั้ง ๆ โดยแยกประเภทของหนังสือ
                 4.  แกนกระดาษชำระ  ให้เอาเชือกร้อยเป็นพวงแล้วใส่ลังไว้
                 5.  กระดาษห่อของขวัญและปฏิทิน  ให้ม้วนแล้วเก็บไว้ในกล่องหรือลัง

เกร็ดน่ารู้คู่บ้าน
     การนำวัสดุประเภทกระดาษมาใช้อย่างคุ้มค่า  เป็นการช่วยอนุรักษ์ต้นไม้วิธีหนึ่ง
          2.2  ประเภทแก้ว
                 วัสดุประเภทแก้ว  เช่น  ขวดแก้ว  โหล  ลูกแก้ว  กระจก  เป็นต้น
                 วิธีเก็บ
                 1.  ล้างขวดหรือสิ่งของนั้นให้สะอาด
                 2.  เช็ดด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง
                 3.  ถ้าเป็นขวดแก้วสวย ๆ อาจวางเรียงไว้ที่ชั้นวางของก็ได้
                 4.  หาเศษกระดาษมารองหรือพัน  เพื่อป้องกันการกระทบกันแตกแล้วเก็บใส่ลัง
          2.3  ประเภทโลหะ
                 วัสดุประเภทโลหะ  เช่น  ลวด  ลูกกุญแจ  ตะปู  ฝาขวดน้ำอัดลม  หรือกระป๋องชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
                 วัสดุประเภทนี้ควรเก็บไว้ที่แห้ง  เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
                 วิธีเก็บ
                 1.  เส้นลวดให้ม้วนเก็บแล้วแขวนไว้
                 2.  ตะปูให้เก็บใส่กล่องกระปุกที่แห้ง  หรือใช้กระดาษห่อไว้
                 3.  กระป๋องชนิดต่าง ๆ ล้างให้สะอาด  เช็ดให้แห้ง  แล้วใส่ลังไว้
                 4.  ฝาขวดน้ำอัดลมล้างให้สะอาด  แล้วเก็บใส่กระปุกหรือกล่อง
          2.4  ประเภทพลาสติก
                 วัสดุประเภทพลาสติก   เช่น  ขวดพลาสติก  หลอดดูด  ถุงพลาสติก  กล่องพลาสติก  กระดุม  ผ้าพลาสติก  เป็นต้น
                 วิธีเก็บ
                 1.  ขวดพลาสติก  ล้างให้สะอาดแล้วใส่ลังไว้
                 2.  ถุงพลาสติก  พับเก็บให้เรียบร้อย  แล้วใส่ถุงไว้
                 3.  หลอดดูด  ล้างให้สะอาดแล้วเก็บใส่กระบอกหรือใส่ถุงไว้
                 ไม่ควรเก็บวัสดุที่เป็นพลาสติกไว้ในที่มีอากาศร้อนจัด  เพราะพลาสติกอาจละลายจนเสียรูปทรงได้นะค่ะ
          2.5  ประเภทผ้า
                 วัสดุประเภทผ้า  ได้แก่  เศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้า  เศษผ้าลายดอก  เศษผ้าลูกไม้  ผ้าที่เป็นชิ้นเล็ก ๆ เป็นต้น
                 วิธีเก็บ
                 1.  ซักผ้าที่จะเก็บให้สะอาด  นำไปผึ่งแดดให้แห้ง
                 2.  แยกผ้าประเภทสี  หรือดอกเดียวกันไว้ด้วยกัน
                 3.  พับใส่ถุงหรือลังให้เรียบร้อย
          2.6  ประเภทอื่น ๆ
                 วัสดุประเภทอื่นๆ เช่น  ขนนก  เศษไม้  ส่วนต่าง ๆ ของพืช  เปลือกหอย  ก้อนหินสวยๆ ดินน้ำมัน  เชือก  ดินเหนียว  เป็นต้น
                 วิธีเก็บ
                 1.  เปลือกหอยและก้อนหิน  ล้างให้สะอาด  แล้วแยกเก็บใส่กล่องหรือใส่ถุงไว้
                 2.  ดินเหนียว  ดินน้ำมัน  เศษไม้  และขนนก  แยกเก็บใส่กล่องหรือใส่ถุงไว้
                 3.  เชือก  ให้ม้วนเก็บให้เรียบร้อยแล้วแขวนไว้
                 4.  ดอกไม้และใบไม้  ใช้สมุดเล่มหนา ๆ วางทับไว้หลาย ๆ วันจนแห้งและแบน  แล้วนำมาเก็บไว้ใสสมุดสำหรับเก็บดอกไม้และใบไม้แห้ง  หรืออาจเก็บใส่ถุงพลาสติกไว้ก็ได้

เกร็ดน่ารู้คู่บ้าน
     การทำดอกไม้แห้งให้คงรูปเป็นดอกเหมือนเดิม  ให้มัดดอกไม้รวมเป็นกำแล้วแขวนห้อยหัวไว้จนกว่าดอกไม้จะแห้งสนิท  (อย่างน้อยประมาณ 1 อาทิตย์)  แล้วจึงนำดอกไม้ไปเก็บ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น