วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2


การบริหารจิตและเจริญปัญญา

• การบริหารจิตและเจริญปัญญา หมายถึง การควบคุมจิตให้มีสมาธิ และทำให้เกิดปัญญา

• การฝึกสวดมนต์และแผ่เมตตา
การสวดมนต์และแผ่เมตตา เป็นอีกวิธีหนึ่งในการบริหารจิตและเจริญปัญญา ทำให้เราสามารถควบคุมจิตใจให้มีสมาธิและก่อให้เกิดปัญญาได้ ฉะนั้น นักเรียนควรฝึกสวดมนต์ และแผ่เมตตาก่อนนอน ก่อนเรียนหนังสือ และหลังเลิกเรียน เป็นประจำ


• ขั้นตอนการสวดมนต์และแผ่เมตตา มีดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑
นั่งคุกเข่าประนมมือ ตั้งจิตให้สงบ

ขั้นตอนที่ ๒
สวดมนต์ (คำบูชาพระรัตนตรัย)
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)


ขั้นตอนที่ ๓
เมื่อสวดมนต์จบแล้ว ให้นั่งในท่าที่สบายหรือนั่งขัดสมาธิมือวางบนตัก หลับตา และเตรียมแผ่เมตตา ถ้ายืนสวดมนต์ ให้ประนมมือ หลับตาและเตรียมแผ่เมตตา 

ขั้นตอนที่ ๔
เริ่มแผ่เมตตา โดยตั้งจิตว่า ขอให้สรรพสัตว์ (สิ่งมีชีวิตทั้งปวง) จงมีแต่ความสุข
ปราศจากความทุกข์ ความเดือดร้อน ตลอดกาลนานเทอญ


ขั้นตอนที่ ๕
เมื่อแผ่เมตตาเสร็จแล้วให้ยกมือไหว้ และสาธุ ในใจ


ความหมายและประโยชน์ของสติ
สติ หมายถึง ความระลึกได้หรือรู้ตนเองอยู่เสมอว่า กำลังทำอะไร

สมาธิ หมายถึง การทำจิตใจให้ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว

การเจริญสติและสมาธิ หมายถึง การฝึกจิตให้มีสติระลึกได้ตลอดเวลา และการทำจิตให้มีสมาธิตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน
• ฟังเพลงและร้องเพลงอย่างมีสติ
การฟังเพลงและร้องเพลงอย่างมีสติ คือ การฝึกสติให้ใจจดจ่อต่อการฟังเพลงและร้องเพลง ให้รู้เข้าใจความหมายของเพลง และสามารถทำกิจกรรมประกอบการร้องเพลงได้


• การเล่นและทำงานอย่างมีสติ
เล่นอย่างมีสติ
การเล่นเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่นักเรียนชอบ เพราะทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่บางครั้งการเล่นก็อาจทำให้เราได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าเราไม่มีสติในการเล่น เล่นอย่างมีสติทำให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ถ้าเล่นอย่างไม่มีสติ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและได้รับอันตราย


• ทำงานอย่างมีสติ
 การทำงานจะสำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี นักเรียนจะต้องมีสติกล่าวคือ ต้องระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า ในขณะนั้นตนกำลังทำอะไรอยู่ มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในงานนั้น งานนั้นก็จะไม่ผิดพลาดและประสบความสำเร็จ จิตใจที่มีสมาธิจะคิดเพียงเรื่องเดียวไม่ว่าขณะนั้นกำลังทำงานอะไรอยู่ งานก็จะสำเร็จลงได้ด้วยดี


• ฝึกให้มีสติในการฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน
การฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน และฝึกให้มีสติอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา

• ฝึกให้มีสติในการฟัง
 การฟังอย่างมีสติ คือ การฟังอย่างตั้งใจ ไม่พูดคุยในขณะที่ครูหรือผู้ใหญ่พูดสั่งสอน นั่งฟังอย่างสงบ และมีสมาธิ

• ฝึกให้มีสติในการอ่าน
 การอ่านอย่างมีสติ คือ การอ่านอย่างตั้งใจ ไม่ฟุ้งซ่านคิดไปในเรื่องอื่น จิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่อ่านเพียงอย่างเดียว

• ฝึกให้มีสติในการคิด
การคิดอย่างมีสติ คือ การมีใจจดจ่อ มีสติตั้งมั่นอยู่กับการคิด คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างรอบคอบและคิดแต่เรื่องที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น

• ฝึกให้มีสติในการถาม
การถามอย่างมีสติ คือ การคิดไตร่ตรองให้รอบคอบแล้วจึงถาม รู้จักใช้คำถามให้ถูกต้องตามกาลเทศะ และมีมารยาทที่ดีในการถาม คือ ใช้คำถามที่ดีและใช้วาจาสุภาพ

• ฝึกให้มีสติในการเขียน
การเขียนอย่างมีสติ คือ การมีใจมุ่งมั่นจดจ่อที่จะเขียนและลงมือเขียนตามที่ได้คิดไตร่ตรองเอาไว้แล้ว 




การออมเงิน
การออมเงิน
การออม คือ
 การประหยัด การเก็บหอมรอมริบ
การออมเงิน สามารถทำได้ ๒ แบบ คือ
 
๑. การออมเงินไว้ที่บ้าน
 โดยเก็บใส่กระปุกออมสิน หรือฝากไว้ที่พ่อแม่ การออมเงินวิธีนี้จะไม่ทำให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินออมของเรา
๒. การออมเงินโดยฝากกับธนาคาร โดยนำเงินที่ออมได้ไปเปิดบัญชีเพื่อฝากเงินไว้กับธนาคาร การออมเงินวิธีนี้จะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากธนาคาร คือ ดอกเบี้ย
การที่สมาชิกในครอบครัวรู้จักใช้จ่ายและเก็บออม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครอบครัวมีเงินออม การรู้จักใช้จ่ายและเก็บออม ช่วยฝึกให้เรามีคุณธรรม ดังนี้
 
๑) ฝึกให้เป็นคนประหยัด รู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็น
๒) ฝึกให้เป็นคนมีความรับผิดชอบ วางแผนการใช้จ่ายของตนเอง
๓) ฝึกให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์ ไม่แคะกระปุกออมสินเอาเงินออกมาใช้โดยไม่จำเป็น
๔) ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัยในตนเอง



พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์



พระบรมนามาภิไธย: พ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง)
พระปรมาภิไธย: กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
ราชวงศ์: ราชวงศ์พระร่วง
ระยะครองราชย์: 29 ปี

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระมเหสี: พระนางเสือง
พระราชโอรส/ธิดา: มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์

       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่ กลางท่าว) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งประวัติศาสตร์ไทย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด มีผู้สันนิษฐานที่มาของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าบ้านเดิมของพระองค์อาจอยู่ที่ "บ้านโคน" ในจังหวัดกำแพงเพชร

พระนาม

1.บางกลางหาว
2.ศรีอินทราทิตย์
3.อรุณราช
4.ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช
5.พระร่วง หรือโรจนราช

       สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง
       พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า "ศรีอินทราทิตย์" เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์

พระราชกรณียกิจ


       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่
       ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "หนีญญ่ายพ่ายจแจ" ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง
       ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชนชาติไทย ต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว

พระราชวงศ์

       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่
1.พระราชโอรสองค์โต (ไม่ปรากฏนาม) เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
2.พ่อขุนบานเมือง
3.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)
4.พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)
5.พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)

      แม้ไม่ทราบแน่นอนว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในปีใด แต่ภายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนบานเมือง ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ได้สืบราชสมบัติแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น