วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2


การเก็บรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้

การเก็บรักษาเสื้อผ้า

เสื้อผ้าที่ใส่แล้วก่อนนำไปซักควรปฏิบัติ  ดังนี้
๑.    ผึ่งให้เหงื่อแห้งก่อนนำไปใส่ตะกร้า
๒.  ซ่อมแซมตรงที่ชำรุด
๓.  แยกถุงเท้าและชุดชั้นใน
๔.  แยกผ้าสีและผ้าขาว

    วิธีซักเสื้อผ้า
๑.  แช่ผ้าในน้ำสะอาด  ๑๐  นาที  และขยี้เอาสิ่งสกปรกออก
๒.  แช่ผ้าในน้ำผงซักฟอก  ๑๕  นาที 
๓.  ขยี้ผ้าตรงส่วนที่สกปรกมากจนสะอาด  และขยี้ตรงส่วนอื่นๆ
๔.  นำผ้ามาซักในน้ำสะอาด  ๒-๓  ครั้ง  จนหมดฟอง  นำไปตาก  โดยใช้ที่หนีบผ้าหนีบไว้   เพื่อป้องกันผ้าตก
    เมื่อผ้าแห้งดีแล้วจึงเก็บมาพับแยกประเภท  แล้วจัดเก็บเข้าตู้
ถุงเท้า  พับไว้เป็นคู่ๆ  แล้วจัดเบในลิ้นชัก
ชุดชั้นใน  พับแยกประเภท  แล้วจัดเก็บในลิ้นชัก
เสื้อผ้าที่ต้องรีด  ให้รีดแล้วแขวนเรียงไว้ในตู้

    การเก็บรักษารองเท้า
รองเท้าผ้าใบ
๑.  ถอดเชือกผูกรองเท้า  แล้วเคาะฝุ่นออก
๒.  แช่ในน้ำผงชักฟอง  ๑๐  นาที  ใช้แปรงขัดให้สะอาด  แล้วซักในน้ำสะอาด    ครั้ง
๓.  นำไปตากให้แห้ง  ร้อยเชือกผูกรองเท้า  แล้วนำไปจัดเก็บเข้าที่
รองเท้าหนัง
๑.  เคาะฝุ่นออก  แล้วใช้ผ้าชุปน้ำเช็ดรอยเปื้อน
๒.  ทายาขัดรองเท้าให้ทั่ว  ใช้แปรงขัดให้ขึ้นเงา  แล้วนำไปจัดเก็บเข้าที่
รองเท้าแตะ
๑.  เคาะฝุ่นออก  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
๒.  แช่ในน้ำผงซักฟอก  ใช้แปรงขัดให้สะอาด  ล้างน้ำ  ตากให้แห้ง  แล้วจัดเก็บเข้าที่
    การจัดและเก็บที่นอน
    ห้องนอน  เป็นห้องที่ใช้พักผ่อนนอนหลับ  หลังจากตื่นนอนทุกครั้งเราจึงควรจัดเก็บที่นอนให้เรียบร้อย
วิธีเก็บที่นอน
๑.  ดึงผ้าปูที่นอนให้ตึง  ปัดฝุ่นออก
๒.  จัดวางหมอนบนหัวเตียง  และพับผ้าห่มวางไว้ปลายเตียง  จากนั้นปูผ้าคลุมเตียงป้องกันฝุ่น

    การต้มน้ำร้อน
    การต้มน้ำ  เป็นการทำน้ำให้สะอาดด้วยวิธีง่ายๆ  แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังเพราะถ้าพลาดพลั้งไปอาจเกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกได้
วิธีต้มน้ำร้อน
๑.  ใส่น้ำในกาให้พอดี  แล้วตั้งกาบนเตาไฟ  หันพวยกาไปด้านที่ไม่มีคนอยู่
๒.  เมื่อน้ำเดือดให้สวมถุงมือกันร้อนก่อน  แล้วจึงยกกาลงจากเตา

    การทำความสะอาดเครื่องใช้
    เครื่องใช้ภายในบ้าน  เช่น  แก้วน้ำ  จานชาม  เมื่อใช้งานแล้ว  ควรล้างทำความสะอาดก่อนนำไปจัดเก็บให้เรียบร้อย   เพื่อการสะดวกในการนำไปใช้งานในครั้งต่อไป

วิธีล้างแก้ว
๑.  เทน้ำออกจากแก้ว  ผสมน้ำยาล้างจาน
๒.  ใช้ฟองน้ำถูให้ทั่ว  โดยเฉพาะรอบปากแก้ว
๓.  ล้างแก้วในน้ำสะอาดจนหมดกลิ่นคาว
๔.  คว่ำแก้วในตะกร้า  ทิ้งไว้ให้แห้ง  แล้วจัดเก็บเข้าตูให้เรียบร้อย

วิธีล้างจาน
๑.  กวาดเศษอาหารลงในถังขยะ
๒.  ล้างน้ำสะอาด    ครั้ง  ผสมน้ำยาล้างจาน
๓.  ใช้ฟองน้ำถูจานชามให้สะอาด
๔.  ล้างด้วยน้ำสะอาดจนหมดคราบ  คว่ำในตะกร้า  ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจัดเก็บเข้าตู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2


การบริหารจิตและเจริญปัญญา

• การบริหารจิตและเจริญปัญญา หมายถึง การควบคุมจิตให้มีสมาธิ และทำให้เกิดปัญญา

• การฝึกสวดมนต์และแผ่เมตตา
การสวดมนต์และแผ่เมตตา เป็นอีกวิธีหนึ่งในการบริหารจิตและเจริญปัญญา ทำให้เราสามารถควบคุมจิตใจให้มีสมาธิและก่อให้เกิดปัญญาได้ ฉะนั้น นักเรียนควรฝึกสวดมนต์ และแผ่เมตตาก่อนนอน ก่อนเรียนหนังสือ และหลังเลิกเรียน เป็นประจำ


• ขั้นตอนการสวดมนต์และแผ่เมตตา มีดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑
นั่งคุกเข่าประนมมือ ตั้งจิตให้สงบ

ขั้นตอนที่ ๒
สวดมนต์ (คำบูชาพระรัตนตรัย)
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)


ขั้นตอนที่ ๓
เมื่อสวดมนต์จบแล้ว ให้นั่งในท่าที่สบายหรือนั่งขัดสมาธิมือวางบนตัก หลับตา และเตรียมแผ่เมตตา ถ้ายืนสวดมนต์ ให้ประนมมือ หลับตาและเตรียมแผ่เมตตา 

ขั้นตอนที่ ๔
เริ่มแผ่เมตตา โดยตั้งจิตว่า ขอให้สรรพสัตว์ (สิ่งมีชีวิตทั้งปวง) จงมีแต่ความสุข
ปราศจากความทุกข์ ความเดือดร้อน ตลอดกาลนานเทอญ


ขั้นตอนที่ ๕
เมื่อแผ่เมตตาเสร็จแล้วให้ยกมือไหว้ และสาธุ ในใจ


ความหมายและประโยชน์ของสติ
สติ หมายถึง ความระลึกได้หรือรู้ตนเองอยู่เสมอว่า กำลังทำอะไร

สมาธิ หมายถึง การทำจิตใจให้ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว

การเจริญสติและสมาธิ หมายถึง การฝึกจิตให้มีสติระลึกได้ตลอดเวลา และการทำจิตให้มีสมาธิตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน
• ฟังเพลงและร้องเพลงอย่างมีสติ
การฟังเพลงและร้องเพลงอย่างมีสติ คือ การฝึกสติให้ใจจดจ่อต่อการฟังเพลงและร้องเพลง ให้รู้เข้าใจความหมายของเพลง และสามารถทำกิจกรรมประกอบการร้องเพลงได้


• การเล่นและทำงานอย่างมีสติ
เล่นอย่างมีสติ
การเล่นเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่นักเรียนชอบ เพราะทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่บางครั้งการเล่นก็อาจทำให้เราได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าเราไม่มีสติในการเล่น เล่นอย่างมีสติทำให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ถ้าเล่นอย่างไม่มีสติ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและได้รับอันตราย


• ทำงานอย่างมีสติ
 การทำงานจะสำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี นักเรียนจะต้องมีสติกล่าวคือ ต้องระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า ในขณะนั้นตนกำลังทำอะไรอยู่ มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในงานนั้น งานนั้นก็จะไม่ผิดพลาดและประสบความสำเร็จ จิตใจที่มีสมาธิจะคิดเพียงเรื่องเดียวไม่ว่าขณะนั้นกำลังทำงานอะไรอยู่ งานก็จะสำเร็จลงได้ด้วยดี


• ฝึกให้มีสติในการฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน
การฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน และฝึกให้มีสติอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา

• ฝึกให้มีสติในการฟัง
 การฟังอย่างมีสติ คือ การฟังอย่างตั้งใจ ไม่พูดคุยในขณะที่ครูหรือผู้ใหญ่พูดสั่งสอน นั่งฟังอย่างสงบ และมีสมาธิ

• ฝึกให้มีสติในการอ่าน
 การอ่านอย่างมีสติ คือ การอ่านอย่างตั้งใจ ไม่ฟุ้งซ่านคิดไปในเรื่องอื่น จิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่อ่านเพียงอย่างเดียว

• ฝึกให้มีสติในการคิด
การคิดอย่างมีสติ คือ การมีใจจดจ่อ มีสติตั้งมั่นอยู่กับการคิด คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างรอบคอบและคิดแต่เรื่องที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น

• ฝึกให้มีสติในการถาม
การถามอย่างมีสติ คือ การคิดไตร่ตรองให้รอบคอบแล้วจึงถาม รู้จักใช้คำถามให้ถูกต้องตามกาลเทศะ และมีมารยาทที่ดีในการถาม คือ ใช้คำถามที่ดีและใช้วาจาสุภาพ

• ฝึกให้มีสติในการเขียน
การเขียนอย่างมีสติ คือ การมีใจมุ่งมั่นจดจ่อที่จะเขียนและลงมือเขียนตามที่ได้คิดไตร่ตรองเอาไว้แล้ว 




การออมเงิน
การออมเงิน
การออม คือ
 การประหยัด การเก็บหอมรอมริบ
การออมเงิน สามารถทำได้ ๒ แบบ คือ
 
๑. การออมเงินไว้ที่บ้าน
 โดยเก็บใส่กระปุกออมสิน หรือฝากไว้ที่พ่อแม่ การออมเงินวิธีนี้จะไม่ทำให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินออมของเรา
๒. การออมเงินโดยฝากกับธนาคาร โดยนำเงินที่ออมได้ไปเปิดบัญชีเพื่อฝากเงินไว้กับธนาคาร การออมเงินวิธีนี้จะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากธนาคาร คือ ดอกเบี้ย
การที่สมาชิกในครอบครัวรู้จักใช้จ่ายและเก็บออม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครอบครัวมีเงินออม การรู้จักใช้จ่ายและเก็บออม ช่วยฝึกให้เรามีคุณธรรม ดังนี้
 
๑) ฝึกให้เป็นคนประหยัด รู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็น
๒) ฝึกให้เป็นคนมีความรับผิดชอบ วางแผนการใช้จ่ายของตนเอง
๓) ฝึกให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์ ไม่แคะกระปุกออมสินเอาเงินออกมาใช้โดยไม่จำเป็น
๔) ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัยในตนเอง



พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์



พระบรมนามาภิไธย: พ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง)
พระปรมาภิไธย: กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
ราชวงศ์: ราชวงศ์พระร่วง
ระยะครองราชย์: 29 ปี

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระมเหสี: พระนางเสือง
พระราชโอรส/ธิดา: มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์

       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่ กลางท่าว) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งประวัติศาสตร์ไทย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด มีผู้สันนิษฐานที่มาของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าบ้านเดิมของพระองค์อาจอยู่ที่ "บ้านโคน" ในจังหวัดกำแพงเพชร

พระนาม

1.บางกลางหาว
2.ศรีอินทราทิตย์
3.อรุณราช
4.ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช
5.พระร่วง หรือโรจนราช

       สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง
       พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า "ศรีอินทราทิตย์" เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์

พระราชกรณียกิจ


       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่
       ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "หนีญญ่ายพ่ายจแจ" ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง
       ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชนชาติไทย ต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว

พระราชวงศ์

       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่
1.พระราชโอรสองค์โต (ไม่ปรากฏนาม) เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
2.พ่อขุนบานเมือง
3.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)
4.พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)
5.พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)

      แม้ไม่ทราบแน่นอนว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในปีใด แต่ภายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนบานเมือง ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ได้สืบราชสมบัติแทน

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556


รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการประถมศึกษา (5 ปี)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา    มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
           สาขาวิชา / คณะ          สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย       หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา
ภาษาอังกฤษ  Bachelor of Education Program in Elementary Education

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย)      ครุศาสตรบัณฑิต (การประถมศึกษา)
ชื่อย่อ (ไทย)       ค.บ. (การประถมศึกษา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) Bachelor of Education( Elementary Education)
ชื่อย่อ (อังกฤษ)   B.Ed. (Elementary Education)

3. วิชาเอก
-

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 174 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

    5.1 รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี

    5.2 ภาษาที่ใช้

การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย

    5.3 การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถพูด ฟัง อ่าน เขียน และเข้าใจ
ภาษาไทยอย่างดี

    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

     5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

     หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 ปรับปรุงจากหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2551 เปิดสอน
ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2555

     คณะกรรมการสภาวิชาการของมหาวิทยาลัย อนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรในการประชุม
ครั้งที่ 3/2555 วันที่ 27 มีนาคม 2555

     สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ/เห็นชอบในหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 5/2555 วันที่ 10 พฤษภาคม
2555 และครั้งที่ 6/2555 วันที่ 8 มิถุนายน 2555

     คุรุสภาเห็นชอบหลักสูตรเมื่อวันที่.........................................................................................

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการประถมศึกษา 2556

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

     8.1 ครูโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน และสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
     8.2 นักวิชาการศึกษาด้านการประถมศึกษาในหน่วยงาน/องค์กรทางการศึกษาของรัฐและ
เอกชน

     8.3 ผู้ดูแลเด็กระดับประถมศึกษา



หลักสูตร

     จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 174 หน่วยกิต

     โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชา ดังนี้

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียนไม่น้อยกว่า            32 หน่วยกิต

1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสารให้เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ให้เรียนไม่น้อยกว่า              5 หน่วยกิต

3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ให้เรียนไม่น้อยกว่า              6 หน่วยกิต

4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เรียนไม่น้อยกว่า  9 หน่วยกิต

ข. หมวดวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า          136 หน่วยกิต

1) กลุ่มวิชาชีพครู 50 หน่วยกิต

     1.1 วิชาชีพครู                                                      36 หน่วยกิต
     1.2 วิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ    14 หน่วยกิต

2) กลุ่มวิชาเอกเดี่ยว เรียนไม่น้อยกว่า                   86 หน่วยกิต

     2.1 วิชาเอก เรียนไม่น้อยกว่า                               76 หน่วยกิต
          2.1.1) วิชาเอกบังคับ                                       67 หน่วยกิต
          2.1.2) วิชาเอกเลือก เรียนไม่น้อยกว่า               9 หน่วยกิต

     2.2 วิชาการสอนวิชาเอก เรียนไม่น้อยกว่า           6 หน่วยกิต
          2.2.1) วิชาการสอนวิชาเอกบังคับ                   3 หน่วยกิต
          2.2.2) วิชาการสอนวิชาเอกเลือก เรียนไม่น้อยกว่า     3 หน่วยกิต

     2.3 เลือกวิชาเอกหรือวิชาการสอนวิชาเอกเพิ่มเติม เรียนไม่น้อยกว่า  4 หน่วยกิต